การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามชนิดของวัสดุ
เสาเข็มไม้ (Timber pile)
เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูกขนส่งสะดวก มี ความสามารถรับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องตอก เป็นกลุ่ม ส่งผลให้มีฐานรากขนาด ใหญ่ควรตอกให้ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวกและเห็ดรา ปัจจุบัน นิยมใช้เสาเข็มไม้สนและยูคาลิปตัส ตามท้องตลาดระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้วและ ความยาวเป็นเมตร
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce concrete pile)
โดยมากเป็นเสาเข็มที่หล่อใน หน่วยงาน ต้องออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงเพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และการตอก ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed concrete pile)
เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับ แรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของเสาเข็ม เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ชนิดพิเศษที่ผลิตที่ใช้กรรม วิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้ เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดย วิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลมตรงกลางกลวง มักใช้เป็นเสาเข็มเจาะ เสียบ (Auger press pile)
เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place concrete pile)
หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงจากการสั่นสะเทือนน้อย สามารถ ทำ ความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก และสามารถควบคุมต าแหน่งได้ดีกว่า แต่มีราคาสูงกว่าในกรณีรับน้ำหนักเท่ากัน
เสาเข็มเหล็ก(Steel pile)
เป็นเสาเข็มที่ทำจากเหล็กทั้งท่อน ความสามารถ รับน้ำหนักได้สูง กว่าเสาเข็มคอนกรีตและไม้ แต่มีราคาแพงและ เกิดการผุกร่อนได้ง่ายจากสนิม นิยมใช้กับงาน โครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้ำหนักมาก แต่ต้องทำการรื้อถอนในภายหลัง
เสาเข็มประกอบ (Composite pile)
เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน จุดสำคัญของเสาเข็มชนิดนี้คือรอยต่อต้องแข็งแรงและสามารถถ่ายน้ำหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้อย่างดี